Untitled Document                           สาขาสำโรง  โทร. 02-756-9759     
 
Untitled Document
      หน้าหลัก       โปรโมชั่น       บริการของเรา      เวชสำอางค์      ตารางแพทย      ตารางการฉีดวัคซีน       สาระน่าสุขภาพ       กิจกรรม       เกี่ยวกับเรา       ติดต่อเรา
 
 
เรามาดูกันว่าสารก่อมะเร็งที่เราอาจสัมผัสในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง

                                          

1.แร่ใยหิน (แอสเบสตอส) พบใน ฉนวนกันความร้อน ผ้าเบรก คลัช กระเบื้องมุงหลังคา อู่ต่อเรือ ทำให้เป็น มะเร็งเยื่อหุ้มปอด
2. สารเบนซิดีน (Benzidine),เบต้า-เนพธีลามีน และ อนุพันธ์ไนโตร และ อะมิโนของเบนซีน พบใน สีย้อม สีทาบ้าน โรงงานผลิตเม็ดสี ทำให้เป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
3. บิส โครโมเอทิล อีเทอร์ (Bis-chromaethyl ether) พบในกระบวนการผลิต เรซิน ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สารทำโพลิเมอร์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ ทำให้เป็นมะเร็งปอด
4.โครเมียม พบในงานผลิตสารโครเมียม เม็ดสี สีย้อม การวาดลายและแกะสลัก อัลลอยย์ เชื่อมโลหะ ยาถนอมเนื้อไม้ การฟอกหนัง การบำบัดน้ำ การขุดโคลน หมึกพิมพ์ ภาพถ่าย การพิมพ์บนแผ่นหิน น้ำหอม ดอกไม้ไฟ สารกันการกัดกร่อน ทำให้เป็นมะเร็งปอด
5.ถ่านหิน พบในการผลิตถ่านหิน การผลิตไฟฟ้า การกลั่นปิโตรเลียม การผลิตอลูมิเนียม โรงหล่อ ทำให้เป็นมะเร็งปอดและมะเร็งผิวหนัง
6.ไวนิล คลอไรด์ (vinyl chloride) พบในการผลิต PVC และโพลีเมอร์,การสกัดตัวทำละลายและละอองของน้ำมันเครื่องบิน ทำให้เป็นมะเร็งตับ
7.เบนซีน (benzene) พบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี,ผลิตยา,ยาง,ตัวทำละลาย,การพิมพ์แบบโรตารี่ที่เป็นลูกกลิ้งทองแดง และ แผนกเข้าปก,อาหารปิ้ง ย่าง ทำให้เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว
8.รังสีแตกตัว เช่น รังสีแอลฟา เบต้า แกมมา เอกซ์ อนุภาคนิวตรอน อิเล็กตรอน หรือ โปรตรอนที่มีความเร็วสูง พบในอุตสาหกรรมถนอนอาหารโดยใช้รังสี รังสีแพทย์ นักรังสีเทคนิค ผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสี ทำให้เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งผิวหนัง
9.น้ำมันดิน พบใน ยางมะตอย การกลั่นปิโตรเคมี ถ่านหิน น้ำมันแร่ น้ำมันหล่อลื่น ทำให้เป็นมะเร็งผิวหนัง และ มะเร็งปอด
10. ไอควันจากถ่านหิน พบใน การผลิตถ่านหิน การผลิตไฟฟ้า ปิโตรเคมี การผลิตอลูมิเนียม โรงหล่อ ทำให้เป็นมะเร็งปอด
11.สารประกอบของนิกเกิล พบใน งานเหมืองแร่ ผลิตโลหะผสม ผลิตสเตนเลส ผลิตแบตเตอรี่ ชุบโลหะ เชื่อมโลหะ ผลิตสี ทำให้เป็นมะเร็งจมูก มะเร็งไซนัส และ มะเร็งปอด
12. ฝุ่นไม้ พบใน งานเลื่อยซุง โรงเลื่อย เยื่อไม้ ทำกระดาษ เฟอร์นิเจอร์ ช่างไม้ ทำให้เป็นมะเร็งหลังโพรงจมูก
13.ไอควันจากการเผาไม้ พบในอาชีพ ทำฟืน ถางป่า,บุหรี่ ทำให้เป็นมะเร็งปอด
อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่า อาชีพ หรือ ลักษณะงานที่กล่าวมาข้างต้นจะมี “สารก่อมะเร็ง” ตามข้อมูล เนื่องจาก “ความรู้” หรือ “เทคโนโลยีการผลิต” ที่ดีขึ้น ทำให้มีการ ใช้สารอื่นทดแทน หรือ มีการควบคุมกระบวนการผลิต มิให้สารเหล่านี้กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามถ้าอยากรู้ว่าสารเคมีที่เราสัมผัสเกี่ยวข้องนั้นมี “สารก่อมะเร็ง” หรือไม่ สามารถตรวจสอบได้ที่ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือ เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม หรือ ตรวจสอบจากบริษัทที่เราซื้อมา
เพราะเหตุใดการรู้ว่าเราสัมผัสสารก่อมะเร็งหรือไม่เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากกลไกการเกิดโรคมะเร็งจะแตกต่างจากสารเคมีทั่วไป (stochastic effect) คือได้รับสัมผัสน้อยก็เกิดเป็นมะเร็งได้ ไม่จำเป็นต้องสัมผัสเกิน “ค่ามาตราฐาน” หรือ “ค่าตามกฎหมาย” ก็เกิดเป็นมะเร็งได้ (หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วจะมีค่ามาตราฐานไปทำไม คำตอบคือ ค่ามาตราฐานมีไว้สำหรับดูการเกิดโรคทั่วไป มิใช่สำหรับดูการเกิดโรคมะเร็ง) อีกทั้งสารก่อมะเร็งบางชนิดที่ไม่ทำให้เกิดอาการเวลาสัมผัสจะมีระยะฟักตัว (latency period) อยู่ระหว่าง 5-20 ปี ทำให้เราไม่รู้ตัวว่าเรากำลังสัมผัสสารอันตรายอยู่ (ถ้าเราโดนสารบางตัวแล้วแสบตาหรือแสบจมูกเราก็จะวิ่งหนี เป็นกลไกการป้องกันตัวตามธรรมชาติ)
ที่สำคัญสารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนออกมาทางสิ่งแวดล้อมก็จะระเหยไปในอากาศทำให้คนที่ไม่ได้อยู่ในส่วนงานที่เกี่ยวข้องได้รับสัมผัสด้วยเช่นกัน
ค้นคว้าเพิ่มเติม www.iarc.fr


Untitled Document

ติดต่อเรา

สาขาสำโรง
เปิดทำการ เวลา 08.00-20.00 น. 
เลขที่ 2095/16-17 ถ.สุขุมวิท (ข้างอิมพีเรียลสำโรง) ม.1 ต. สำรงเหนือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270
โทรศัพท์ :  02-756-9759  098-1014750
แฟกซ์  :  02-756-9759 
Facebook : คลินิคเวชกรรมจุฬาการแพทย์ สำโรง
เว็ปไซค์  : www.chulamedicclinic.com
 
 

ตารางวัคซีน




Untitled Document

Untitled Document
© Copyright 2012 คลินิคเวชกรรมจุฬาการแพทย์. All rights reserved.